การบริหารจัดการงานก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนักในด้านของเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานก่อสร้างที่ทันสมัยมากขึ้น และสามารถปรับใช้ได้ง่ายในบริเวณไซด์งาน เช่น Neo Intelligent, Spitfire หรือ PCS เป็นต้น ระบบซอฟท์แวร์เหล่านี้ จะช่วยบริหารตารางเวลาการทำงานของฝ่ายต่างๆ เพื่อช่วยให้การทำงานเสร็จรวดเร็วได้ตามกำหนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์
นอกจากจะมีซอฟท์แวร์ช่วยบริหารงานจัดการก่อสร้างแล้ว การนำหุ่นยนต์มาใช้ในธุรกิจนี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นด้วย เช่น โดรน เป็นหุ่นยนต์อันดับแรกๆ ที่เริ่มแพร่หลาย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานไม่แพง งานก่อสร้างบางแห่ง มีความเสี่ยงสูงต่อการทำงานของคนงาน จะมีการใช้โดรน ที่เรียกว่า UAV หรือ Unmanned Aerial Vehicles ไว้คอยตรวจสอบความคืบหน้าของงาน รวมทั้งตรวจสอบการทำงานของคนงานไม่ให้อยู่ในสภาวะเสี่ยงจนเกินไปด้วย ดังนั้นการใช้โดรนในงานก่อสร้าง จึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย, ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของงาน รวมถึง มีประโยชน์อย่างมากในด้านการเก็บข้อมูลพื้นที่ทำงานในภาพรวม
ทุกวันนี้ เราจะได้ยินผู้คนพูดถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในเกือบทุกวงการ ซึ่งในวงการก่อสร้างก็มีเทรนด์ลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ที่เป็นการผสมผสานระหว่างความคงทนถาวรของตัวอาคาร เข้าด้วยกันกับการลดมลพิษ เพราะการก่อสร้างต่างๆ ในทุกวันนี้ มีสัดส่วน 20% ของการสร้างมลพิษทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ด้วยประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การก่อสร้างยังเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้ธุรกิจนี้ต้องหันมาสนใจเรื่อง กรีน เทคโนโลยี มากขึ้น โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การตกแต่งภายนอกอาคารด้วยเปลือกอาคาร (ฟาซาด) ที่ช่วยดูดกลืนสารคาร์บอนมอน็อกไซด์, การใช้อิฐที่ทำจากก้นบุหรี่รีไซเคิล, การใช้ระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งยางมะตอยที่มีส่วนผสมของเส้นใยเหล็ก สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเทคโนโลยีที่ช่วยลดมลภาวะ และน่าจะมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกในปี 2020
เทรนด์การก่อสร้างอย่างหนึ่ง ที่กำลังมาแรงอย่างมาก ในปีที่ผ่านมา คือ การก่อสร้างแบบแยกส่วน ที่มีอัตราการเติบโตในตลาดถึง 6.9% ต่อปี และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 157 พันล้านเหรียญ ในปี 2023 การก่อสร้างแบบนี้ คือ การสร้างอาคารพาณิชย์, โรงแรม หรือ อาคารสำนักงาน ที่ต่อประกอบกันขึ้นไปในรูปแบบคงที่เหมือนกันในทุกชั้น ซึ่งแต่ละส่วนจะถูกสร้างมาสำเร็จรูปจากโรงงานผลิต และนำมาประกอบเข้าด้วยกันในบริเวณไซด์งานเท่านั้น เป็นการช่วยประหยัดเวลา ลดการใช้พลังงาน และต้นทุนถูกกว่าการก่อสร้างแบบเดิม เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับสภาพอากาศ หรือ ข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาการทำงานต่อวัน นอกจากนี้ หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง ไม่จำเป็นต้องทิ้งให้เป็นมลพิษ สามารถทำเป็นวัสดุรีไซเคิลได้อีกด้วย
มาตรฐาน และอุปกรณ์ป้องกันภัย ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดีขึ้นกว่าเดิม เพราะเจ้าของโครงการส่วนมาก เริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยของคนงาน รองเท้าเซฟตี้ของคนงาน ในทุกวันนี้ กลายเป็น Smart Boots ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi), ส่งโลเคชั่นผ่านสัญญาณ GPS หรือแม้กระทั่งส่งสัญญาณบอกได้แล้ว ว่าคนใส่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานหรือเหนื่อยล้าเกินไปหรือไม่ แม้ว่าเทคโนโลยีนี้ จะยังคงมีราคาสูง แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ มันจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับทุกการก่อสร้าง และจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอีกอย่างแน่นอน
ระบบนี้เรียกว่า BIM (Building Information Modelling) ซึ่งจะใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงข้อมูลภาพจำลองของอาคาร, ถนน และโครงสร้างต่างๆ ให้เห็นครบถ้วน ก่อนการลงมือก่อสร้างจริง สถาปนิก และวิศวกร จะสามารถใช้โมเดลเสมือนนี้ในการวางแผนการออกแบบและการก่อสร้าง ซึ่งสามารถทำให้วางสเป็คของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยระบบ BIM ยังช่วยในการประเมินการใช้พลังงานในส่วนต่างๆ ของการก่อสร้าง สามารถทดสอบและวัดผลในระบบก่อนการสร้างจริงๆ ได้ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงทางด้านต้นทุนการก่อสร้างลงไปได้มาก และเพิ่ม ROI ในระยะยาวได้มากขึ้น
เทคโนโลยีนี้ มีการใช้งานมาได้ประมาณ 2-3 ปีแล้ว แต่เพิ่งถูกนำมาใช้อย่างจริงจังกับการก่อสร้างต่างๆ ในปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีการเพิ่มโปรแกรมประยุกต์ (Application) ต่างๆ มากขึ้น สำหรับอนาคต การใช้เทคโนโลยีนี้ จะช่วยจำลองภาพเสมือนจริงในสถานที่ก่อสร้างจริง แบบ 360 องศา ซึ่งช่วยให้การออกแบบและการก่อสร้างตอบโจทย์การใช้งานจริงได้อย่างสูงสุด