12 วิธี ติดตั้งสายดินอย่างไร เพิ่มความปลอดภัยการใช้ไฟฟ้า

มาตรฐานเดินไฟฟ้าที่อยู่อาศัย
ตรวจสอบมาตรฐานงานเดินไฟบ้านและที่อยู่อาศัย ใน 5 ขั้นตอน
กุมภาพันธ์ 16, 2020
 

สายดิน เป็นอุปกรณ์ที่หลายครั้ง มักจะถูกมองข้ามในการเดินสายไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การติดตั้งสายดินให้ถูกวิธีนั้น เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยได้อย่างดีที่สุด

 
 

วิธีติดตั้งสายดิน เพิ่มความปลอดภัย ใน 12 ขั้นตอน


  • จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า คือ จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล (สายไฟเส้นสีฟ้า) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้เมนสวิตช์
  • ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
  • สายดิน (สายไฟสีเขียวแถบเหลือง) และสายเส้นศูนย์ (สายไฟสีฟ้า) สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตช์เท่านั้น ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น ๆ อีก เช่น ในแผงสวิตช์ย่อยจะต้องมีขั้วสายดินแยกจากขั้วต่อสายศูนย์ และห้ามต่อถึงกันโดยมีฉนวนคั่นระหว่างขั้วต่อสายเส้นศูนย์กับตัวตู้ซึ่งต่อกับขั้วต่อสายดิน
  • ตู้เมนสวิตช์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตช์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตช์ย่อย ห้ามต่อสายเส้นศูนย์ และสายดินร่วมกัน
  • ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตย์อย่างถูกต้อง แล้วเดินสายดินจากเมนสวิตช์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิมได้
  • ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด 120/240 V กับระบบไฟ 220 V เพราะพิกัด IC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
  • การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว จะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขัง หรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ
  • ถ้าตู้เมนสวิตช์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกัน เครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น จะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้
  • ต้องตรวจสอบว่า วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
  • ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะ จะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย
  • ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อสายดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสถึง คือ ควรสูงมากกว่า 2.40 เมตร หรือห่างเกินกว่า 1.50 เมตร ในแนวราบ
  • ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
| อ้างอิงข้อมูลจาก : การไฟฟ้านครหลวง
 
 

#สตีลซิตี้ #ฟิตติ้งท่อร้อยสายไฟ #SafetyIsOurPriority

สตีลซิตี้ ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์บ็อกซ์ไฟฟ้าและตัวจับยึด สำหรับท่อร้อยสายไฟเหล็กชนิดต่างๆ เช่น ท่อร้อยสายไฟ EMT, ท่อ IMC, ท่อ RSC งานโครงการขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ฟิตติ้งท่อกันระเบิด พร้อมอุปกรณ์ระบบป้องกันฟ้าผ่า

พูดคุยกับเราได้ที่ www.facebook.com/steelcitythailand และ LINE official @steelcity

 
 
เพิ่มเพื่อน
 

Comments are closed.

//]]>